คำว่า "สงกรานต์ " มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การผ่าน หรือ การย้าย โดยการนับ
ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกรกุมภ์ และ มีน
การโคจร
ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว
เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศ
อินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก
อินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ
วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่
ราศีเมษนั้น โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี
วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า
(วันที่ 13 เมษายน) วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก
(วันที่ 15 เมษายน)
| |||
ตำนานเกี่ยวกับนางสงกรานต์ | |||
เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ นางสงกรานต์มีชื่อดังนี้ วันอาทิตย์ ชื่อนางทุงษ วันจันทร์ชื่อนางโคราค วันอังคารชื่อนางรากษส วันพุธชื่อนางมณฑา วันพฤหัสชื่อนางกิริณี วันศุกร์ชื่อนางกิมิทา วันเสาร์ชื่อนางมโหทร นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์ หรือ ท้าวกบิลพรหม มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแล เศียรของท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า เนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนัน การตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารจึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร ก่อนจะตัดเศียร ท้าวกบิลพรหมาได้เรียกธิดาทั้ง 7 ซึ่งเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมา รองรับเนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้อนทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดิน ไฟจะไหม้โลกถ้าโยนขึ้น ไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้งธิดาทั้ง 7 จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของท้าวกบิล พรหมไว้ คนละ 1 ปี | |||
คุณค่าและความสำคัญ | |||
ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกัน ทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตเช่น ลูกหลานนำสิ่งของมา เยี่ยมเยียน และรดน้ำขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูก พันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่างๆ | |||
กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริม | |||
ประเพณีสงกรานต์มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติ ดังนี้ ี้ • การเตรียมเครื่องนุ่งห่มชุดใหม่ที่สะอาดเรียบร้อย เพื่อไหว้บิดา มารดา หรือญาติผู้ใหญ่ ่ • การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย บริเวณต่างๆ ในชุมชนที่อยู่ เช่น วัดวาอารามที่จะใช้เป็นสถานที่สำหรับ ทำบุญและที่สาธารณะต่างๆ • การทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปเลี้ยงพระที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการี ที่ล่วงลับไปแล้ว • การก่อพระเจดีย์ทราย โดยขนทรายเข้าวัด แล้วก่อเป็นรูปเจดีย์หรือสัตว์ต่างๆ ปักธง หลากสี มีธูปเทียนและดอก ไม้เป็นเครื่องบูชาพระเพื่อให้วัดนำทรายไปใช้ในการก่อสร้าง และการสาธารณประโยชน์ต่างๆ • การทำทาน โดยการปล่อยนก ปล่อยปลา รวมทั้งการฟังเทศน์ ถือศีลปฏิบัติธรรม • ทำบุญ บังสุกุลอัฐิ และอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว • การสรงน้ำพระพุทธรูป โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ • สรงน้ำพระภิกษุสามเณรด้วยน้ำสะอาด แล้วถวายผ้าสบงหรือผ้าไตร • การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ หรือตามประเพณ ี นิยมท้องถิ่นนั้นๆ • การเล่นสาดน้ำโดยใช้น้ำสะอาด และเล่นอย่างสุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ ไม่ก่อความ เดือดร้อนรำคาญ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น • การละเล่นรื่นเริงอื่นๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ | |||
สิ่งที่ควรปฏิบัติ | |||
เนื่องจากในปัจจุบันการเล่นสงกรานต์มีกิจกรรมบางอย่างที่มีการปฏิบัติในลักษณะที่ไม่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งควรจะมีการป้องกันและแก้ไข ได้แก่ 1. การเล่นสาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น ใช้ปืนฉีดน้ำชนิดอัดแรงลม การใช้น้ำสกปรก หรือของเหลว ที่เน่าเหม็น การขว้างปาถุงน้ำแข็ง ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือสร้างความไม่พอใจ 2. การประแป้ง หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะส่อไปในทางกระทำอนาจาร เช่น ใช้มือลูบคลำใบหน้า หน้าอก หรือสะโพกของสุภาพสตรี 3. การประกวดเทพีสงกรานต์ หรือประกวดในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น แต่งกาย ด้วยชุดว่ายน้ำ ประกวดเทพีสงกรานต์ประเภท 2 เป็นต้น | |||
สิ่งที่ควรปฏิบัติ 1. การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่าและสาระที่สำคัญของประเพณี และรูปแบบกิจกรรม การปฏิบัติที่เหมาะสมตามประเพณี 2. การส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย ขอบคุณแหล่งที่มา |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น